ต้นไม้สวยผู้คนปลอดภัยในถนนสายต้นยางนา
แพรจารุ ทองเกลี้ยง
ต้นไม้สวยคนปลอดภัยในถนนสายฝันที่เป็นจริงได้ ฉันคิดเสมอว่าใคร ๆ ก็ต้องการมีถนนสายฝันที่มีต้นไม้สวยและคนปลอดภัย
“ต้นไม้สวยคนปลอดภัย” ข้อความนี้ฉันได้ยินในวันที่ ไปร่วมงาน เปิดสภายางนาที่เทศบาลหนองผึ่ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยเป็นการพูดคุยกันถึงแนวทางในการดูแลรักษาและการจัดการยางนาถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน
ในการพูดคุยกันวันนี้ ได้เกิดคำถามที่ว่า ตอนนี้ต้นไม้บนถนนยังไม่สวยและผู้คนยังไม่ปลอดภัยใช่ไหม?
คำตอบก็คือ ใช่ แต่มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่มีความพยายามที่จะไปให้ถึงจุดนั้น และทำงานกันมายาวนานแล้ว จนถึงวันนี้มีความร่วมมือที่ดีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในส่วนของเอกชนอันประกอบด้วยนักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน ชาวบ้านในพื้นที่และหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนคนรักถนนสายต้นยางนาที่อยู่ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เชียงใหม่ด้วยก็มี
การพูดคุยกันในวาระนี้ มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ชาวบ้านในเขตพื้นที่ นักวิชาการ เอ็นจีโอ และหน่วยงานภาคประชาชน เช่น สโมสรนักเขียนเชียงใหม่ เขียวสวยหอม เข้าร่วม
อ.บรรจง สมบูรณ์ชัย คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม ม.แม่โจ้ ซึ่งรู้จักกันในนามของหมอต้นไม้ เรียกว่าหมอใหญ่เพราะมีนักศึกษาหมอต้นไม้และหมออาสาสมัครอีกหลายคน นำเสนอสถานการณ์ต้นยางนา
สรุปสั้น ๆ ได้ว่า ถนนสายนี้เป็นถนนที่ถูกคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นถนนสายสำคัญของประเทศ เป็นรุกขมรดกของแผ่นดิน เชื่อมโยงการท่องเที่ยว และจากการสำรวจพบว่ายางนามีความเสี่ยง จำเป็นที่จะต้องได้รับการฟื้นฟูและปลูกเพิ่ม อีกทั้งผู้คนยังไม่เข้าใจในเรื่องการดูแลและปลูกเพิ่ม
มีการเสนอว่าควรมีหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับยางนา ให้ลูกหลานคนในพื้นที่ได้เรียนรู้ รวมทั้งสื่อสารไปสู่ภายนอก
มีคำถามว่าชุมชนจะได้ประโยชน์อะไร?
คำตอบ ส่วนชุมชนจะได้ประโยชน์ก็มาจากการท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่เป็นมรดกของแผ่นดินแต่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการค้าขาย จากการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ซึ่งเรื่องนี้จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาออกแบบวิธีการต่าง ๆ
นายสมชาติ วัฒนากล้า ผอ.กองการช่าง อบจ.เชียงใหม่ ได้กล่าวสรุปเรื่องหลักที่นำเสนอ เรื่องอาคารสิ่งก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อระบบรากซึ่งเกิดมาตั้งแต่ก่อนมีกฎหมายควบคุม รวมถึงพื้นที่โดยรอบที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน และเรื่องความปลอดภัยด้วย อบจ.มีงบในการตัดแต่งกิ่งแห้งให้ตกใส่คนน้อยลงในส่วนกิ่งดิบก็มีผู้เชี่ยวชาญดูแล จัดการอย่างเป็นระบบ ให้ต้นยางนาสามารถอยู่ร่วมกับเราได้
ฝ่ายช่างบอกว่า ปัญหาที่ทำให้ยางนาเสื่อมโทรมคือการเทคอนกรีตทับทำให้น้ำซึมลงไปไม่ได้ ยังมีเรื่องของความไม่เข้าใจ และความกลัวที่จะเกิดอุบัติเหตุ ช่วงนี้มีการเปลี่ยนบล็อกตัวหนอนแทน ยกระดับถนน สร้างพื้นที่สีเขียวและเส้นทางจักรยาน นี่เป็นข้อเสนอของฝ่ายช่าง
ในวาระนี้ตัวแทนอาสาสมัครพิทักษ์ยางนา มีการตั้งกองทุนต้นยาวนา ชดเชยความเสียหายดูแลคนที่อยู่รอบ ๆ ต้นยาวนา เมื่อมีอุบัติเหตุจากต้นยางนา และใช้เป็นกองทุนฟื้นฟูพัฒนาต่อไป มีการเสนอร่างเงินที่มาของกองทุนจะได้มาอย่างไรบ้าง เช่นของบสนุบสนุน จาการจัดตั้งสมาชิกช่วยกันเองแต่ละครอบครัว และกิจกรรมระดมทุน เริ่มต้นกองทุนในครั้งที่หนึ่งหมื่นหนีงพันบาท มีการสมทบจากเจ้าหน้าที่รัฐ และจากการจัดกิจกรรมของเขียวสวยหอม
ก่อนจบนายไพรัช ใหม่ชมภู รองนายก อบจ. เชียงใหม่ เสนอทำข้อมูลเพิ่ม เช่นรถที่ผ่านทางถนนสายต้นยางมีเท่าไหร่ มีจำนวนครัวเรือนที่อยู่บนถนนสายนี้ดูว่ามีหลังคาเรือนและเชิญมาประชุม (การอยู่ร่วมกับต้นยาง ) เป็นข้อมูลประกอบ
ก่อนปิดงาน ผู้เสนอหาเงินเข้ากองทุนได้ โดยใช้ถนนสกายวอค คือทำสะพายลอยเดินขึ้นไปในดับกลางต้นหรือระดับปลายยอด ตอนทางขึ้นได้เก็บค่าเดินขึ้นได้ ทำให้ต้นไม้มีจุดเด่นได้มากขึ้น เลือกต้นที่ยางนาสวย ๆ ไม่ติดบ้านคน ทำให้ต้นยางโดดเด่นเพื่อมาถ่ายรูป ซึ่งจะต้องออกแบบให้สวยงามและปลอดภัย
ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ เจ้าหน้าที่รัฐนำเสนอ ให้ศิลปินมาทำงานศิลปะ โดยเสนอแนวทางของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ที่ทำงานในเมืองเชียงรายเป็นแบบ มีคำถามว่าในเมืองเชียงใหม่เรามีศิลปินอยู่ไหม จริง ๆ แล้วถ้ามีศิลปินมาเขียนภาพ หรือทำศิลปะประวัติศาสตร์ ให้ศิลปินเข้ามาเกี่ยวกับการวาดภาพ ทำเป็นประวัติศาสตร์ ตรงนี้มีวัดก็มีเยอะที่จะวาด มาทำเป็นจุดงานศิลปะ
แล้ววันหนึ่งเราก็จะได้ถนนสายฝันที่เป็นจริง ที่มีต้นไม้สวยคนปลอดภัย นั่นคือถนนสายต้นยางนา เชียงใหม่-ลำพูน.