สมาคมยางนาฯ เสนอแนวคิด เล่าเรื่อง ผ่าน…”ต้นยางนาที่โค่นล้ม”
ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม นิเวศวิทยา
จากเหตุการณ์ ต้นยางนาโค่นล้ม 2 ต้น ในวันที่ 7 พฤษภาตคม 2563 สมาคมยางนาขี้เหล็กสยาม ได้มีข้อเสนอพื้นที่ 2 จุดที่จะนำ ท่อนต้นยางนาที่ล้ม มาจัดแสดง ใน 2 พื้นที่ 1.บริเวณลานหน้าวัดต้นเหียว และ 2. สวนสาธารณะบ้านเด่น เทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเส้นทางนี้ จะเชื่อมโยงการท่องเที่ยวที่มีลำดับจากตัวเมืองเชียงใหม่ สู่ปลายทาง อ.สารภี ที่ศาลแดนเมืองเชียงใหม่ – ลำพูน ทั้งนี้ สมาคมยางนาขี้เหล็ก-สยาม จะได้นำแนวคิดนี้ไปพัฒนาหาความร่วมมือกับท้องถิ่น ภาครัฐเพื่อสนับสนุนต่อไป
แนวคิดนี้จะทำนองเดียวกับที่ประเทศญี่ปุ่น คือ
“นอกจากนี้ท่อนไม้ที่ตัดจากต้นไม้ริมถนนนำมาใช้ประโยชน์ในชุมชน อาทิ สนามเด็กเล่นมีท่อนไม้ให้เด็กปีนเล่น ม้านั่ง แผ่นป้ายในโรงเรียน ป้ายชื่อต้นไม้ (โดยให้เด็กเขียนแล้วนำไปติดที่ต้นไม้) นอกจากนี้ยังทำท่อนไม้สื่อความหมายในสวนธารณะ (พร้อมป้ายทองเหลืองแสดงข้อมูลว่าท่อนไม้นี้มาจากต้นไม้ริมถนนที่ไหน) เป็นต้น”
ท่อนไม้ต้นซูกิ (Sugi- Japanese cedar หรือ redwood หรือ Cryptomeria japonica) ขนาดใหญ่กลวงยาวประมาณ 2 เมตร วางนอนให้เข้ารอดผ่าน ที่ศาลเจ้าฟูตาระซัง (Futarasan Shrine) ที่ Nikko ประเภทญี่ปุ่น สมัยเอโดะ (Edo period) เมื่อประมาณ 400 ปีที่แล้ว เป็นมรดกของโลก (The World Heritage Shrines and Temples of Nikko)
จากตัวอย่างของ ประเทศญี่ปุ่น ควรนำมาเป็นแนวทางกรณีศึกษาให้กับพื้นที่ที่จะใช้จัดวาง โดยจะต้องมีการออกแบบให้เป็นระบบ การสื่อความหมายทางธรรมชาติและวัฒนธรรม (Natural And cultural interpretive) หมายถึง การเล่าเรื่องราวประกอบ อย่างมีลำดับ เชื่อมโยงเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ จะมีแง่มุมทางวิชาการแทรกพร้อมการอธิบาย สั้นๆได้ใจความ ให้เข้าใจได้ง่าย อาจจะแสดงให้เห็นทั้งระบบราก ลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ ดอก น้ำยาง สิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาอาศัยต้นยางนา ระบบนิเวศวิทยา วงจรชีวิต
ที่มา : ไปเที่ยวดูต้นไม้ใหญ่และพื้นที่สีเขียวประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 4 Edogawa ความสำเร็จในการพัฒนาแม่น้ำคูคลองให้เป็นพื้นที่สีเขียว